-
Notifications
You must be signed in to change notification settings - Fork 6
/
07-creating-posts.md.erb
485 lines (355 loc) · 37.8 KB
/
07-creating-posts.md.erb
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
243
244
245
246
247
248
249
250
251
252
253
254
255
256
257
258
259
260
261
262
263
264
265
266
267
268
269
270
271
272
273
274
275
276
277
278
279
280
281
282
283
284
285
286
287
288
289
290
291
292
293
294
295
296
297
298
299
300
301
302
303
304
305
306
307
308
309
310
311
312
313
314
315
316
317
318
319
320
321
322
323
324
325
326
327
328
329
330
331
332
333
334
335
336
337
338
339
340
341
342
343
344
345
346
347
348
349
350
351
352
353
354
355
356
357
358
359
360
361
362
363
364
365
366
367
368
369
370
371
372
373
374
375
376
377
378
379
380
381
382
383
384
385
386
387
388
389
390
391
392
393
394
395
396
397
398
399
400
401
402
403
404
405
406
407
408
409
410
411
412
413
414
415
416
417
418
419
420
421
422
423
424
425
426
427
428
429
430
431
432
433
434
435
436
437
438
439
440
441
442
443
444
445
446
447
448
449
450
451
452
453
454
455
456
457
458
459
460
461
462
463
464
465
466
467
468
469
470
471
472
473
474
475
476
477
478
479
480
481
482
483
484
---
title: สร้างข่าวใหม่
slug: creating-posts
date: 0007/01/01
number: 7
contents: เรียนรู้วิธี submit ข่าวจากฝั่งไคลเอนต์|เพิ่มการตรวจสอบความปลอดภัยอย่างง่าย|ป้องกันการเข้าถึงฟอร์ม submit|เรียนรู้วิธีเพิ่มความปลอดภัยด้วยเมธอดฝั่งเซิร์ฟเวอร์
paragraphs: 60
---
เราก็เห็นกันแล้วว่า การสร้างข่าวใหม่จากคอนโซลนั้นง่ายแค่ไหน ด้วยการเรียกใช้คำสั่ง `Posts.insert` ของฐานข้อมูล แต่เราก็คาดหวังไม่ได้ว่า ผู้ใช้จะเปิดคอนโซลแล้วสร้างข่าวใหม่เข้าไปเอง
ในที่สุดแล้วเราก็จำเป็นต้องสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้บางอย่าง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถโพสต์ข่าวเข้าไปที่แอพเราได้
### สร้างหน้าโพสต์ข่าว
เราเริ่มต้นด้วยการสร้างเส้นทางไปที่หน้าใหม่ของเรา
~~~js
Router.configure({
layoutTemplate: 'layout',
loadingTemplate: 'loading',
notFoundTemplate: 'notFound',
waitOn: function() { return Meteor.subscribe('posts'); }
});
Router.route('/', {name: 'postsList'});
Router.route('/posts/:_id', {
name: 'postPage',
data: function() { return Posts.findOne(this.params._id); }
});
Router.route('/submit', {name: 'postSubmit'});
Router.onBeforeAction('dataNotFound', {only: 'postPage'});
~~~
<%= caption "lib/router.js" %>
<%= highlight "15" %>
### เพิ่มลิงก์ที่ส่วนหัว
ด้วยเส้นทางที่เราสร้างขึ้นใหม่ ตอนนี้เราก็จะเพิ่มลิงก์ไปหน้า submit ที่ส่วนหัวของหน้าเว็บ
~~~html
<template name="header">
<nav class="navbar navbar-default" role="navigation">
<div class="container-fluid">
<div class="navbar-header">
<button type="button" class="navbar-toggle collapsed" data-toggle="collapse" data-target="#navigation">
<span class="sr-only">Toggle navigation</span>
<span class="icon-bar"></span>
<span class="icon-bar"></span>
<span class="icon-bar"></span>
</button>
<a class="navbar-brand" href="{{pathFor 'postsList'}}">Microscope</a>
</div>
<div class="collapse navbar-collapse" id="navigation">
<ul class="nav navbar-nav">
<li><a href="{{pathFor 'postSubmit'}}">Submit Post</a></li>
</ul>
<ul class="nav navbar-nav navbar-right">
{{> loginButtons}}
</ul>
</div>
</div>
</nav>
</template>
~~~
<%= caption "client/templates/includes/header.html" %>
<%= highlight "14~16" %>
เส้นทางที่เรากำหนดยังหมายถึงว่า ถ้าผู้ใช้เปิดเข้าไปที่พาธ `/submit` Meteor ก็จะแสดงเทมเพลต `postSubmit` ด้วย ดังนั้นเราก็จะมาเขียนเทมเพลตนี้กัน
~~~html
<template name="postSubmit">
<form class="main form page">
<div class="form-group">
<label class="control-label" for="url">URL</label>
<div class="controls">
<input name="url" id="url" type="text" value="" placeholder="Your URL" class="form-control"/>
</div>
</div>
<div class="form-group">
<label class="control-label" for="title">Title</label>
<div class="controls">
<input name="title" id="title" type="text" value="" placeholder="Name your post" class="form-control"/>
</div>
</div>
<input type="submit" value="Submit" class="btn btn-primary"/>
</form>
</template>
~~~
<%= caption "client/templates/posts/post_submit.html" %>
จะเห็นว่า มีการใช้มาร์คอัพพอสมควรในเทมเพลต เหตุผลง่ายๆก็เพราะเราใช้ Twitter Bootstrap ซึ่งนอกจากส่วนประกอบที่จำเป็นของฟอร์มแล้ว มาร์คอัพพิเศษพวกนี้ก็จะช่วยให้แอพเราดูดีขึ้นด้วย และมันควรจะออกมาคล้ายๆ แบบนี้
<%= screenshot "7-1", "The post submit form" %>
เนื่องจากฟอร์มนี้เป็นแบบง่ายๆ เราจึงไม่ต้องกังวลกับการทำงานของมันนัก เพราะว่ายังไงเราก็จะดักจับเหตุการณ์ตอน submit และอัพเดทข้อมูลด้วยจาวาสคริปต์อยู่แล้ว (และก็ไม่มีเหตุผลที่จะต้องหาทางออกในกรณีไม่มีจาวาสคริปต์ เพราะถ้าคุณพิจารณาดูจะเห็นว่าแอพ Meteor ทำงานไม่ได้อยู่แล้วถ้าจาวาสคริปต์ไม่ทำงาน)
### สร้างข่าวใหม่
ได้เวลาที่จะจัดการกับเหตุการณ์ `submit` ของฟอร์มกันแล้ว วิธีที่ดีที่สุดคือ ผูกโค้ดเข้ากับเหตุการณ์ `submit` โดยตรง (จะดีกว่าผูกเข้ากับเหตุการณ์ `click` ของปุ่ม) ซึ่งจะครอบคลุมการ submit ที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด (เช่น กดปุ่ม enter เป็นต้น)
~~~js
Template.postSubmit.events({
'submit form': function(e) {
e.preventDefault();
var post = {
url: $(e.target).find('[name=url]').val(),
title: $(e.target).find('[name=title]').val()
};
post._id = Posts.insert(post);
Router.go('postPage', post);
}
});
~~~
<%= caption "client/templates/posts/post_submit.js" %>
<%= commit "7-1", "Added a submit post page and linked to it in the header." %>
โดยฟังก์ชันนี้ใช้ [jQuery](http://jquery.com/) เพื่อแปลงค่าที่ได้จากฟิลด์ต่างๆในฟอร์ม และสร้างอ็อบเจกต์โพสต์จากค่าเหล่านั้น ที่เราต้องเรียก `preventDefault` จากพารามิเตอร์ `event` ก็เพื่อให้แน่ใจว่า เบราว์เซอร์จะไม่พยายาม submit เอง
ในช่วงท้ายของโค้ด เราก็สามารถสั่งให้ตัวจัดการเส้นทางส่งเราไปที่หน้าข่าวที่เพิ่งสร้างใหม่ได้ ทั้งนี้ฟังก์ชัน `insert()` ที่กระทำกับคอลเลคชั่นจะคืนค่า `_id` ของอ็อบเจกต์ใหม่ที่เพิ่งถูกแทรกเข้าไปในฐานข้อมูล ซึ่งฟังก์ชัน `go()` ของตัวจัดการเส้นทางจะนำไปสร้างพาธให้เราเปิดเข้าไปใช้งานได้
ผลลัพธ์ที่ได้เมื่อผู้ใช้กดปุ่ม submit ก็คือ ข่าวใหม่ถูกสร้างขึ้น และผู้ใช้ถูกพาเข้าไปที่หน้าสนทนาของข่าวที่สร้างใหม่นั้นทันที
### เพิ่มความปลอดภัยเข้าไป
หน้าสร้างข่าวใหม่ใช้งานได้ดีทีเดียว แต่เราก็ไม่อยากให้ใครก็ตามที่แค่เข้ามาชมเว็บสามารถใช้งานมันได้ สิ่งที่เราต้องการคือ ให้ล็อกอินเข้ามาก่อนถึงจะใช้ได้ แน่นอนว่าเราสามารถซ่อนฟอร์มสร้างข่าวใหม่จากผู้ใช้ที่ล็อกเอาท์ไปแล้วได้ แต่ผู้ใช้ก็ยังสามารถหลอกเราด้วยการสร้างข่าวจากคอนโซลของเบราว์เซอร์โดยไม่ต้องล็อกอิน ซึ่งเราไม่อยากให้เป็นแบบนั้นแน่
ต้องขอบคุณระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่ถูกสร้างรวมมากับคอลเลคชั่น Meteor ตั้งแต่แรก แต่มันถูกปิดไว้ตามค่าตั้งต้นตอนที่คุณสร้างโปรเจกต์ใหม่ เพื่อช่วยให้คุณเริ่มสร้างแอพได้ง่ายขึ้น โดยทิ้งเรื่องน่าเบื่อต่างๆไว้ทีหลัง
ตอนนี้แอพเราก็ไม่ต้องการตัวช่วยพวกนี้อีกแล้ว ดังนั้นก็ปิดมันซะเลย! โดยการถอนแพ็คเกจ `insecure` ออกมาดังนี้
~~~bash
meteor remove insecure
~~~
<%= caption "Terminal" %>
หลังจากทำตรงนี้ คุณจะสังเกตุว่า ฟอร์มป้อนข่าวใหม่ใช้งานได้ไม่ดีเหมือนเดิม นั่นก็เพราะว่า เมื่อไม่มีแพ็คเกจ `insecure` แล้ว การเพิ่มข้อมูลข่าวเข้าไปในคอลเลคชั่นที่ไคลเอนต์จะ *ไม่สามารถทำได้อีก*
และเราจำเป็นที่จะต้องกำหนดกฏเกณฑ์ชัดเจนให้ Meteor รู้ว่า มันโอเคที่จะยอมให้ไคลเอนต์เพิ่มข้อมูลเข้ามาได้ หรือว่าเราจะทำการเพิ่มข้อมูลที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์แทน
### ยอมให้เพิ่มข่าวได้
เริ่มต้นด้วยการที่เราจะแสดงให้ดูว่า ทำอย่างไรจึงจะยอมให้ไคลเอนต์สามารถเพิ่มข่าวได้ เพื่อที่จะให้ฟอร์มของเราทำงานได้อีกครั้ง ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วเราอาจจะจบลงด้วยเทคนิคอีกแบบนึง แต่ทว่าตอนนี้ลองทำตามแบบง่ายๆนี้ดูก่อน
~~~js
Posts = new Mongo.Collection('posts');
Posts.allow({
insert: function(userId, doc) {
// only allow posting if you are logged in
return !! userId;
}
});
~~~
<%= caption "lib/collections/posts.js" %>
<%= highlight "3~8" %>
<%= commit "7-2", "Removed insecure, and allowed certain writes to posts." %>
เราเรียกใช้ `Posts.allow` เพื่อบอกให้ Meteor รู้ว่า "สิ่งนี้คือชุดเหตุการณ์ซึ่งเรายอมให้ไคลเอนต์ทำอะไรกับคอลเลคชั่น `Posts` ได้บ้าง" โดยในกรณีนี้ เราก็บอกว่า "เรายอมให้ไคลเอนต์เพิ่มข่าวใหม่เข้าไปตราบเท่าที่พวกเค้ามี `userID`"
ค่า `userId` ของผู้ใช้ตอนที่กำลังแก้ไขข้อมูลจะถูกส่งต่อไปที่ฟังก์ชัน `allow` และ `deny` (หรือมีค่าเป็น `null` ถ้าผู้ใช้ยังไม่ได้ล็อกอิน) ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ และในเมื่อบัญชีผู้ใช้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ Meteor ด้วยแล้ว เราจึงมั่นใจได้ว่า `userId` จะมีค่าที่ถูกต้องเสมอ
และเราก็ได้ทำให้แน่ใจแล้วว่า คุณจำเป็นต้องล็อกอินก่อนถึงจะสร้างข่าวใหม่ได้ ถึงตรงนี้ลองล็อกเอาท์และสร้างข่าวใหม่ดู คุณจะเห็นข้อความแบบนี้ขึ้นที่คอนโซล
<%= screenshot "7-2", "Insert failed: Access denied " %>
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีเรื่องที่เราต้องจัดการอีกสองสามอย่างคือ
- ผู้ใช้ที่ล็อกเอาท์ ยังคงเข้าไปที่หน้าฟอร์มสร้างข่าวได้
- ข่าวที่สร้างใหม่ ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับผู้ใช้เลย (และยังไม่มีโค้ดฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่จัดการตรงนี้ด้วย)
- ข่าวใหม่ๆ สามารถสร้างด้วย URL เดียวกันได้
เราจะมาแก้ไขเรื่องพวกนี้กัน
### ป้องกันฟอร์มสร้างข่าว
เริ่มด้วยการป้องกันผู้ใช้ที่ล็อกเอาท์ออกไปแล้ว ไม่ให้เห็นฟอร์มสร้างข่าวนี้กันก่อน โดยเราจะทำที่ระดับตัวจัดการเส้นทาง ด้วยการสร้าง *ฮุคของเส้นทาง* ขึ้นมา
ฮุคนี้จะดักจับการจัดเส้นทาง และสามารถเปลี่ยนการทำงานของตัวจัดการเส้นทางได้ เปรียบได้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยกำลังตรวจสอบข้อมูลคุณ ก่อนที่จะยอมให้คุณเข้าไปข้างใน (หรือไล่คุณกลับไป)
สิ่งที่เราต้องทำคือ ตรวจสอบว่าผู้ใช้ล็อกอินเข้ามาแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ล็อกอิน ให้แสดงเทมเพลต `accessDenied` แทนเทมเพลต `postSubmit` ตามปกติ (และเราก็จะสั่งให้ตัวจัดการเส้นทางหยุดทำงานอื่นๆต่อจากนั้น) ดังนั้นเราก็มาแก้ไขไฟล์ router.js กันดังนี้
~~~js
Router.configure({
layoutTemplate: 'layout',
loadingTemplate: 'loading',
notFoundTemplate: 'notFound',
waitOn: function() { return Meteor.subscribe('posts'); }
});
Router.route('/', {name: 'postsList'});
Router.route('/posts/:_id', {
name: 'postPage',
data: function() { return Posts.findOne(this.params._id); }
});
Router.route('/submit', {name: 'postSubmit'});
var requireLogin = function() {
if (! Meteor.user()) {
this.render('accessDenied');
} else {
this.next();
}
}
Router.onBeforeAction('dataNotFound', {only: 'postPage'});
Router.onBeforeAction(requireLogin, {only: 'postSubmit'});
~~~
<%= caption "lib/router.js" %>
<%= highlight "17~23,26" %>
และเราก็ต้องสร้างเทมเพลตของหน้า access denied นี้ด้วย
~~~html
<template name="accessDenied">
<div class="access-denied page jumbotron">
<h2>Access Denied</h2>
<p>You can't get here! Please log in.</p>
</div>
</template>
~~~
<%= caption "client/templates/includes/access_denied.html" %>
<%= commit "7-3", "Denied access to new posts page when not logged in." %>
ตอนนี้ถ้าคุณเข้าไปที่ http://localhost:3000/submit/ โดยไม่ได้ล็อกอิน คุณก็ควรจะเห็นข้อความคล้ายๆแบบนี้
<%= screenshot "7-3", "The access denied template" %>
ข้อดีของการใช้ฮุคที่เส้นทางคือ พวกมันทำงานแบบ *รีแอกทีฟ* หมายความว่า เราไม่ต้องคิดเรื่องการใช้ฟังก์ชัน callback เมื่อมีผู้ใช้ล็อกอินเข้ามา เพราะเมื่อสถานะล็อกอินของผู้ใช้เปลี่ยนไป เทมเพลตที่ตัวจัดการเส้นทางใช้ในหน้านั้นก็จะเปลี่ยนจาก `accessDenied` เป็น `postSubmit` ทันที โดยเราไม่ต้องเขียนโค้ดจัดการใดๆทั้งสิ้น (และอย่าลืมว่า มันทำงานข้ามแท็บของเบราว์เซอร์ได้ด้วย)
ลองล็อกอิน และรีเฟรชหน้านี้ดู คุณอาจจะเห็นหน้า access denied กระพริบขึ้นมาแว่บนึงก่อนเข้าหน้าป้อนข่าว เหตุผลที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะ Meteor จะเริ่มวาดเทมเพลททันทีที่เป็นไปได้ ก่อนที่มันจะติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ และเช็ค (จากค่าที่เก็บในข้อมูลของเบราว์เซอร์) ว่า ผู้ใช้คนปัจจุบันมีตัวตนซะอีก
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ (ที่เป็นปัญหาหลักซึ่งคุณจะพบมากขึ้น เมื่อคุณต้องเผชิญกับความล่าช้าระหว่างไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์) เราก็จะแสดงหน้ากำลังโหลดชั่วครู่ เพื่อรอการตรวจสอบว่าผู้ใช้งานมีสิทธิเข้าใช้หรือไม่
จริงๆแล้วในตอนนี้เราก็ไม่รู้ว่า ผู้ใช้มีสิทธิการใช้งานที่ถูกต้องหรือไม่ ทำให้เราไม่สามารถแสดงได้ทั้งเทมเพลต `accessDenied` และ `postSubmit` จนกว่าเราจะรู้
ดังนั้นเราก็จะแก้ไขฮุคของเราให้เปลี่ยนมาใช้เทมเพลทแสดงการโหลด เมื่อ `Meteor.loggingIn()` มีค่าเป็นจริง
~~~js
//...
var requireLogin = function() {
if (! Meteor.user()) {
if (Meteor.loggingIn()) {
this.render(this.loadingTemplate);
} else {
this.render('accessDenied');
}
} else {
this.next();
}
}
Router.onBeforeAction('dataNotFound', {only: 'postPage'});
Router.onBeforeAction(requireLogin, {only: 'postSubmit'});
~~~
<%= caption "lib/router.js" %>
<%= highlight "5~10" %>
<%= commit "7-4", "Show a loading screen while waiting to login." %>
### การซ่อนลิงก์
วิธีการง่ายที่สุด ที่จะป้องกันผู้ใช้เข้ามาที่หน้านี้โดยบังเอิญเมื่อล็อกเอาท์ออกไปแล้ว ก็คือ ซ่อนลิงก์ไม่ให้เห็น ซึ่งเราทำได้ง่ายๆดังนี้
~~~html
//...
<ul class="nav navbar-nav">
{{#if currentUser}}<li><a href="{{pathFor 'postSubmit'}}">Submit Post</a></li>{{/if}}
</ul>
//...
~~~
<%= caption "client/templates/includes/header.html" %>
<%= highlight "3~5" %>
<%= commit "7-5", "Only show submit post link if logged in." %>
ตัวช่วย `currentUser` ถูกเตรียมไว้ให้เราโดยแพ็คเกจ `accounts` ซึ่งเป็นโค้ดของ Spacebars ที่มีค่าเหมือนกับคำสั่ง `Meteor.user()` และเนื่องจากมันเป็นรีแอกทีฟ ลิงก์นี้ก็จะแสดงหรือหายไปเมื่อคุณล็อกอินเข้ามา หรือล็อกเอาท์ออกจากแอพ
### เมธอดของ Meteor : ง่ายและปลอดภัยขึ้น
ตอนนี้เราก็ได้ทำการป้องกันผู้ใช้ที่ล็อกเอาท์ไม่ให้เข้ามาใช้งานหน้าป้อนข่าว และไม่ให้สร้างข่าวได้แม้ว่าจะใช้คอนโซล แต่มีอีกบางเรื่องที่เราจำเป็นต้องจัดการต่อ คือ
- บันทึกเวลาที่ป้อนข่าว
- ทำให้แน่ใจว่า ไม่สามารถป้อนข่าวใหม่ด้วย URL เดียวกันได้
- เพิ่มข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผู้สร้างข่าว (ไอดี, ชื่อผู้ใช้, และอื่นๆ)
ซึ่งคุณอาจกำลังคิดว่า เราสามารถทำเรื่องทั้งหมดได้ในฟังก์ชันจัดการเหตุการณ์ขณะ `submit` แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ถ้าทำแบบนั้นเราจะพบปัญหาตามมาอีกมากมาย เช่น
- การบันทึกเวลาที่ป้อนข่าว ด้วยเวลาที่ได้จากเครื่องของผู้ใช้ ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป
- ไคลเอนต์ไม่รู้ URL *ทั้งหมด* ที่ป้อนเข้าไปเก็บในระบบ มันจะรู้จักเฉพาะข่าวตัวที่มันสามารถเห็นได้ในตอนนี้เท่านั้น (หลังจากนี้ เราจะมาดูว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร) ดังนั้นจึงไม่มีทางที่จะทำให้ URL ไม่ซ้ำกันได้
- สุดท้าย ถึงแม้เราสามารถเพิ่มรายละเอียดของผู้ใช้ที่ฝั่งไคลเอนต์ได้ แต่เราก็ไม่สามารถควบคุมความถูกต้องของมันได้ ซึ่งอาจทำให้แอพเราเสี่ยงต่อการถูกล้วงข้อมูลไปใช้ด้วยคอนโซลของเบราว์เซอร์ได้
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ มันจึงดีกว่าถ้าเราจะทำให้ฟังก์ชันจัดการเหตุการณ์ทำงานพื้นฐานง่ายๆ และถ้าต้องการทำอะไรที่มากกว่าการเพิ่มหรืออัพเดทคอลเลคชั่น เราก็ควรใช้ **เมธอด (method)**
เมธอดของ Meteor เป็นฟังก์ชันบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกเรียกใช้จากฝั่งไคลเอนต์ ซึ่งไม่ใช่ว่าเราจะไม่คุ้นเคยกับมันเลย อันที่จริงแล้วฟังก์ชัน `insert`, `update` และ `remove` ของคอลเลคชั่น ต่างก็เป็นเมธอดที่ทำงานอยู่เบื้องหลังทั้งหมด ถึงตอนนี้เราจะลองมาสร้างของเราเองบ้าง
ย้อนกลับไปที่ `post_submit.js` แทนที่เราจะเพิ่มข่าวเข้าไปตรงๆที่คอลเลคชั่น `Posts` เราก็จะเรียกใช้เมธอด `postInsert` แทน
~~~js
Template.postSubmit.events({
'submit form': function(e) {
e.preventDefault();
var post = {
url: $(e.target).find('[name=url]').val(),
title: $(e.target).find('[name=title]').val()
};
Meteor.call('postInsert', post, function(error, result) {
// display the error to the user and abort
if (error)
return alert(error.reason);
Router.go('postPage', {_id: result._id});
});
}
});
~~~
<%= caption "client/templates/posts/post_submit.js" %>
<%= highlight "10~16" %>
ฟังก์ชัน `Method.call` จะเรียกใช้งานเมธอดตามชื่อในพารามิเตอร์ตัวแรก ซึ่งคุณสามารถส่งพารามิเตอร์เพิ่มเติมตามไปได้ (ในกรณีนี้คือ อ็อบเจกต์ `post` ที่เราสร้างจากฟอร์ม) และใส่ฟังก์ชัน callback เป็นตัวสุดท้าย ซึ่งจะทำงานเมื่อเมธอดฝั่งเซิร์ฟเวอร์ทำงานแล้วเสร็จ
ฟังก์ชัน callback ของเมธอด Meteor จะมีพารามิเตอร์สองตัวเสมอ คือ `error` และ `result` ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ถ้าตัวแปร `error` มีค่า เราจะแจ้งเตือนผู้ใช้ (ด้วยการใช้ `return` เพื่อยกเลิก callback) แต่ถ้าทุกอย่างทำงานตามที่ควรจะเป็น เราก็จะส่งผู้ใช้ไปที่หน้าสนทนาของข่าวที่เพิ่งสร้างนี้
### ตรวจสอบความปลอดภัย
เราจะถือโอกาสนี้เพิ่มความปลอดภ้ยให้กับเมธอดของเราด้วยการใช้แพ็คเกจ [`audit-argument-checks`](http://docs.meteor.com/#/full/auditargumentchecks)
โดยแพ็คเกจนี้จะตรวจสอบอ็อบเจกต์จาวาสคริปต์กับรูปแบบที่กำหนดไว้แล้ว ในกรณีของเรานั้น เราจะใช้มันตรวจสอบว่า ผู้ใช้ที่เรีียกใช้เมธอดนั้นล็อกอินเข้าระบบอย่างถูกต้อง (ด้วยการตรวจสอบว่า `Meteor.userId()` มีค่าเป็น `string`) และอ็อบเจกต์ `postAttributes` ที่ถูกส่งเข้ามาทางพารามิเตอร์ของเมธอด มีค่าคุณสมบัติ `title` และ `url` มาด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เราป้อนข้อมูลมั่วๆเข้าไปในฐานข้อมูล
ดังนั้นเราจะสร้างเมธอด `postInsert` ไว้ในไฟล์ `collections/posts.js` ของเรา และเราจะลบบล็อก `allow()` ออกจาก `posts.js` เนื่องจากเมธอดของ Meteor จะมองข้ามมันไปอยู่ดี
จากนั้นเราก็จะ `extend` อ็อบเจกต์ `postAttributes`โดยเพิ่มคุณสมบัติเข้าไปอีกสามตัวคือ `_id` ของผู้ใช้ และ `username` รวมทั้งเวลาที่ป้อนข่าว `submitted` ก่อนที่เราจะเพิ่มข้อมูลทั้งหมดนี้เข้าไปในฐานข้อมูลของเรา และส่งคืนค่า `_id` กลับไปให้ไคลเอนต์ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ ผู้เรียกใช้งานเมธอดนี้) ในรูปแบบอ็อบเจกต์จาวาสคริปต์
~~~js
Posts = new Mongo.Collection('posts');
Meteor.methods({
postInsert: function(postAttributes) {
check(Meteor.userId(), String);
check(postAttributes, {
title: String,
url: String
});
var user = Meteor.user();
var post = _.extend(postAttributes, {
userId: user._id,
author: user.username,
submitted: new Date()
});
var postId = Posts.insert(post);
return {
_id: postId
};
}
});
~~~
<%= caption "lib/collections/posts.js" %>
<%= highlight "3~24" %>
จำไว้ว่า เมธอด `_extend()` เป็นส่วนหนึ่งของไลบรารี่ [Underscore](http://underscorejs.org/) และช่วยให้คุณ "extend" อ็อบเจกต์ตัวนึงด้วยคุณสมบัติของอีกตัวได้
<%= commit "7-6", "Use a method to submit the post." %>
<% note do %>
### ลาก่อน Allow/Deny
เมธอด Meteor จะทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้น Meteor จึงสมมุติว่า เมธอดเหล่านี้เชื่อถือได้ ด้วยเหตุนี้เมธอด Meteor จึงข้ามการทำงานของฟังก์ชัน allow/deny ไป
ถ้าคุณต้องการรันโค้ดบางอย่างก่อน `insert`,`update` หรือ `remove` *แม้จะอยู่บนเซิร์ฟเวอร์* เราก็แนะนำให้ใช้แพ็คเกจ `collection-hooks`
<% end %>
### ป้องกันไม่ให้ซ้ำ
เรื่องที่เราจะทำการตรวจสอบก่อนที่จะจบงานในเมธอดนี้ก็คือ ถ้าข่าวที่ป้อนเข้ามามี URL ซ้ำกับที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ เราก็จะไม่เพิ่มลิงก์นี้เข้าไปเป็นครั้งที่สอง แต่จะส่งผู้ใช้ไปที่หน้าข่าวเดิมที่มีอยู่
~~~js
Meteor.methods({
postInsert: function(postAttributes) {
check(this.userId, String);
check(postAttributes, {
title: String,
url: String
});
var postWithSameLink = Posts.findOne({url: postAttributes.url});
if (postWithSameLink) {
return {
postExists: true,
_id: postWithSameLink._id
}
}
var user = Meteor.user();
var post = _.extend(postAttributes, {
userId: user._id,
author: user.username,
submitted: new Date()
});
var postId = Posts.insert(post);
return {
_id: postId
};
}
});
~~~
<%= caption "collections/posts.js" %>
<%= highlight "9~15" %>
เราทำได้ด้วยการค้นหาข่าวจากฐานข้อมูลด้วย URL ที่ป้อนเข้ามา ถ้าเราพบ เราจะ `return` ค่า `_id` ของข่าวพร้อมด้วยค่า `postExists: true` เพื่อให้ไคลเอนต์รู้ว่าเป็นสถานะการพิเศษ
และเนื่องจากเรา `return` กลับไป เมธอดก็จะหยุดทำงานที่ตรงนั้น โดยไม่ทำการ `insert` ซึ่งก็คือการป้องกันไม่ให้ข้อมูลซ้ำอย่างนุ่มนวล
สิ่งที่เหลือก็คือการใช้ข้อมูล `postExists` ที่ตัวช่วยจัดการเหตุการณ์ในฝั่งไคลเอนต์ มาแสดงข้อความเตือน
~~~js
Template.postSubmit.events({
'submit form': function(e) {
e.preventDefault();
var post = {
url: $(e.target).find('[name=url]').val(),
title: $(e.target).find('[name=title]').val()
};
Meteor.call('postInsert', post, function(error, result) {
// display the error to the user and abort
if (error)
return alert(error.reason);
// show this result but route anyway
if (result.postExists)
alert('This link has already been posted');
Router.go('postPage', {_id: result._id});
});
}
});
~~~
<%= caption "client/templates/posts/post_submit.js" %>
<%= highlight "15~17" %>
<%= commit "7-7", "Enforce post URL uniqueness." %>
### จัดเรียงข่าว
ตอนนี้เราก็มีข้อมูลวันที่เราป้อนข่าวของข่าวทั้งหมดแล้ว มันก็สมเหตุเหตุผลที่เราจะจัดเรียงข้อมูลตามแอททริบิวท์นี้ วิธีทำเราก็แค่ใช้ตัวดำเนินการ `sort` ของ Mongo ซึ่งรับค่าเป็นอ็อบเจกต์ที่มีคีย์เป็นชื่อที่จะนำมาจัดเรียง และข้อมูลเป็นเครื่องหมายแสดงทิศทางจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อย
~~~js
Template.postsList.helpers({
posts: function() {
return Posts.find({}, {sort: {submitted: -1}});
}
});
~~~
<%= caption "client/templates/posts/posts_list.js" %>
<%= highlight "3" %>
<%= commit "7-8", "Sort posts by submitted timestamp." %>
แม้จะต้องเสียเวลาไปบ้าง แต่เราก็ได้หน้าจอที่ยอมให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลเข้าไปในแอพได้อย่างปลอดภัย
ส่วนใหญ่แล้วแอพตัวใดก็ตามที่ยอมให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลเข้าไปได้ จำเป็นต้องให้วิธีแก้ไขหรือลบข้อมูลมาด้วย และนั่นคือสิ่งที่เราจะทำกันในบทถัดไป