Skip to content

Spec (มั้ง)

Patsagorn Y edited this page Apr 11, 2024 · 1 revision

อธิบายการอ่านรายการด้านล่าง

หน้านี้เป็น User story แบบแกล้ง ๆ แบ่งตามหน้าต่าง ๆ กัน ว่าแต่ละหน้าใครจะสามารถทำอะไรได้บ้าง การอ่านคือเริ่มจากนอกสุดของ bullet list แล้วไล่เข้าไปชั้นใน เช่น

  • เข้าชมหน้าสามารถ
    • เข้าถึงประกาศสำคัญได้ที่หน้าหลักโดยตรง
      • เช่น ลิงก์ไปประกาศผลผู้ชนะ, ลิงก์ไปหน้าเวลานำเสนอโครงงาน, ลิงก์ไปหน้าเอกสารเผยแพร่ อ่านว่า "ผู้เข้าชมสามารถเข้าถึงประกาศสำคัญได้ที่หน้าหลักโดยตรง เช่น ลิงก์ไปประกาศผลผู้ชนะ ฯลฯ" ซึ่งวิธีการให้ผู้ใช้สามารถทำแบบนี้ได้ก็ต้องไปหาอีกที โดยแปล requirement ออกมาได้ว่า เว็บไซต์ต้องมีลิงก์ไปที่ประกาศที่พูดถึงได้ในหน้าหลัก ประมาณนี้

สำหรับ user keyword ได้แก่ ผู้ใช้ นักเรียน ครูที่ปรึกษา ครูผู้ประสานงาน และ ผู้ดูแลระบบ (admin) คือตัวบอกว่าใครจะสามารถทำอะไรได้ ให้ถือว่าคนที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบหรือผู้เยี่ยมชมที่ยังไม่ล็อกอินเป็น ผู้ใช้ และคนที่ล็อกอินด้วยบัญชีนักเรียน เป็น นักเรียน เป็นต้น โดยไม่ต้องสนว่าในชีวิตจริงจะเป็นใครก็ตาม (aka account access level)

รายละเอียดแต่ละโครงงาน

  • แต่ละโครงงานมีไม่เกิน 3 คน ครูที่ปรึกษาไม่เกิน 3 คน และที่ปรึกษาไม่เกิน 3 คน
  • มีโครงงาน 6 สาขา และมีการนำเสนอ 3 แบบ แต่ละแบบจะมีทั้งหมด 12 ทืมเข้าแข่ง (จาก 12 โรงเรียน) รวมจะมีทั้งหมด (อย่างมาก) 6 * 3 * 12 = 216 โครงงาน แต่ละ จภ. จะมี 18 โครงงาน
  • มีการนำเสนอออนไลน์ด้วย ทั้งหมด 6 สาขา แต่ไม่จำกัดว่าแต่ละ จภ. จะส่งกี่โครงงาน
  • จะมีนักเรียนอย่างมาก 216 * 3 = 648 คนในงาน ส่วนครูไม่แน่นอน
  • 1 โครงงานของนักเรียนจำเป็นต้องสมัคร 1 บัญชีเท่านั้น เป็นตัวแทนกลุ่มเพื่อนในการลงทะเบียนโครงงาน
  • ครูไม่จำเป็นต้องสมัครบัญชี หรือได้รับเชิญ แต่ครูที่ได้รับเชิญจะสามารถดูและแก้ไขโครงงานที่ตัวเองดูแลอยู่ได้
  • ครูผู้ประสานงาน ปกติจะมี จภ. ละ 1 บัญชี ซึ่งเจ้าภาพจะเป็นคนสร้างให้แล้วให้จัดการเชิญคนเอง

Frontend

ในทุกหน้า

ปกติใส่ใน Navbar อ่ะลิงก์พวกนี้

  • ผู้ใช้ไม่เข้าสู่ระบบ
    • ไม่สามารถเข้าถึงหน้าที่สงวนไว้ได้
    • ไม่สามารถโหลดไฟล์ที่สงวนไว้ได้
  • นักเรียน ครูที่ปรึกษา ครูผู้ประสานงาน และผู้ดูแลระบบ สามารถ
    • เข้าถึงวิธีการออกจากระบบได้ (logout button)
    • ไปที่หน้าการตั้งค่าบัญชีของตัวเองได้
  • นักเรียน สามารถ
    • ไปที่หน้าโครงงานของตัวเองได้
  • ครู สามารถ
    • ไปที่หน้าโครงงานที่ตัวเองดูแลอยู่ได้
    • ไปที่หน้าเชิญนักเรียนได้
  • ครูผู้ประสานงานแต่ละโรงเรียน สามารถ
    • ไปที่หน้าเชิญครูและนักเรียนได้
    • ไปที่หน้าโครงงานที่ตัวเองดูแลอยู่ได้
      • เพราะบางทีครูผู้ประสานงานเป็นที่ปรึกษาด้วย
    • ไปที่หน้าโครงงานทั้งหมด (ในโรงเรียนตัวเอง) ได้
  • ผู้ดูแลระบบ จะสามารถ
    • ไปที่หน้าเชิญนักเรียน ครู และครูผู้ประสานงานได้
    • ไปที่หน้าโครงงานทั้งหมดได้

หน้าหลัก[^1]

  • ผู้ใช้สามารถ
    • รู้ข้องมูลของงานเบื้องต้นได้
    • ดูตารางกิจกรรมแต่ละวันและ key date[^2] ได้
    • ไปที่หน้าเข้าสู่ระบบจากหน้าหลักได้
    • เข้าถึงประกาศสำคัญได้ที่หน้าหลักโดยตรง
      • เช่น ลิงก์ไปประกาศผลผู้ชนะ, ลิงก์ไปหน้าเวลานำเสนอโครงงาน, ลิงก์ไปหน้าเอกสารเผยแพร่[^3]
    • รู้สถานที่จัดของงานได้
    • รู้วันที่จัดงานได้
    • รู้แผนผังของโรงเรียนได้ (อาจจะภาพหรืออะไรก็ตาม)
    • รู้ข้อมูลสถานที่ทัศนศึกษาได้
    • ดูข้อมูลของวิทยากรรับเชิญได้
    • ดูข้อมูลของงานปีก่อน ๆ ได้
      • เช่น ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ปีก่อนหน้า
    • ไปที่หน้าร้านค้าเพื่อเลือกซื้อสินค้าที่ขายในงานได้
      • ปี 2023 มีขายเสื้อ เลยใส่ไว้ประกาศขายเสื้อแหละ

หน้าโครงงานของตัวเอง

สำหรับนักเรียนที่เป็นตัวแทนกลุ่ม

  • นักเรียน สามารถ
    • ลงทะเบียนโครงงานของตัวเองได้
    • แก้ไขรายละเอียดที่กรอกไปแล้วได้
  • ผู้ใช้ทั่วไป ครูที่ปรึกษา ครูผู้ประสานงาน ผู้ดูแลระบบ
    • ไม่มีสิทธ์เข้าถึงหน้านี้

ฟอร์มลงทะเบียนโครงงาน

  • ส่วนข้อมูลโครงงาน
    • ชื่อโครงงาน (ไทย)
    • ชื่อโครงงาน (อังกฤษ)
    • รูปแบบการนำเสนอ (นำเสนอปากเปล่าไทย aka oral thai, ปากเปล่าอังกฤษ aka oral eng, โปสเตอร์, และออนไลน์)
    • สาขาของโครงงาน (ไล่ไป 6 อัน)
    • อยู่โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (เลือกเป็นชื่อจังหวัด)
      • ถ้าทำได้ เช็คด้วยว่ารูปแบบการนำเสนอนี้ สาขานี้ และโรงเรียนนี้ มีแล้วหรือยัง ถ้าซ้ำก็เตือนไปเผื่อบางคนกรอกผิด
    • สมาชิกในกลุ่ม (นักเรียนแต่ละคน)
      • ถ้านำเสนอภาคภาษาอังกฤษ ต้องกรอกทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ถ้าไม่ กรอกเฉพาะไทย
      • คำนำหน้า (ควรเป็น dropdown)
      • ชื่อ
      • นามสกุล
      • หมายเลขโทรศัพท์
      • ที่อยู่อีเมล
    • ครูที่ปรึกษาโครงงาน
      • ถ้านำเสนอภาคภาษาอังกฤษ ต้องกรอกทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ถ้าไม่ กรอกเฉพาะไทย
      • คำนำหน้า (ควรเป็น dropdown)
      • ชื่อ
      • นามสกุล
      • หมายเลขโทรศัพท์
      • ที่อยู่อีเมล
    • ที่ปรึกษาพิเศษ (ถ้ามี)
      • ถ้านำเสนอภาคภาษาอังกฤษ ต้องกรอกทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ถ้าไม่ กรอกเฉพาะไทย
      • คำนำหน้า (ควรเป็น dropdown)
      • ชื่อ
      • นามสกุล
      • สถาบัน
      • ที่อยู่ของสถาบัน
      • ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี)
      • หมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี)
      • ที่อยู่อีเมล (ถ้ามี)
    • ภาพถ่ายสมาชิก (มีหรือไม่มีครูที่ปรึกษาก็ได้) อัปโหลด
      • ปี 2023 เก็บไปก็ไม่ได้เอามาใช้ ใช้ในวีดีโอเปิดนิดหน่อย

ยังไม่เสร็จ โปรดติดต่อ @ptsgrn

  • [^1]: ส่วนใหญ่เอาไอเดียมาจาก TISF ของ MWIT และ TJSSF/TJSIF
  • [^2]: วันเดดไลน์ส่งเอกสารต่าง ๆ
  • [^3]: template โปสเตอร์/รูปเล่ม/บทความ และคู่มือต่าง ๆ และ Abstract Book